gml

ฮิสโตแกรม เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราตรวจสอบภาพของเราว่า มืดเกินไป หรือสว่างเกินไป หรือพอดีขนาดไหน โดยจะแสดงออกมาเป็น กราฟ ที่เราเรียกกันว่า”ฮิสโตแกรม

โดยส่วนมากแล้วจะแบ่งออกเป็นด้วยกัน 2แบบนั้นก็คือ

Histogram
ฮิสโตแกรมในกล้อง

1.ฮิสโตแกรมแสดงความสว่างแสดงค่าสว่างเป็นสีเทา

-แกนนอนของภาพ คือ ระดับความสว่างของภาพ

จะเริ่มจากด้านซ้ายมือ—–มืดสุด(หรือสีดำ)——–โซนตรงกลางคือ มิดโทน(หรือสว่างพอดี)—–โซนด้านขวา คือสว่างมาก (หรือสีขาว)

-แกนแนวตั้งของจะบอกปริมาณของความสว่างที่เฉพาะเจาะจงในโทนนั้น มีค่า 0-255 (0 คือมืดสุด 255 คือสว่างที่สุด) กราฟฮิสโตแกรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่กระบวนการถ่ายภาพเข้ามา จนมาถึงการปรับตั้งค่าในโปรแกรมแต่งภาพได้

Histogram
ฮิสโตแกรม

2.ฮิสโตแกรมแสดงค่าสี

แสดงระดับความสว่างของสีและความอิ่มตัวของสี โดยแสดงเป็น 3 สี คือคือ สีแดง สีเขียว และสีฟ้า เรียกว่า Histogram RGB

แกนนอนเป็นแกนบอกค่าความสว่างในแต่ละสี

แกนตั้งจะบอกจำนวนพิกเซลระดับความสว่างของสี

การอ่าน แบ่งเป็น 3 ส่วน ถ้ากราฟเอียงซ้าย ค่าสีจะออกในโทนสีเข็ม  ถ้ากราฟเอียงไปทางขวา ค่าสีจะออมมาในโทนอ่อน และถ้ากราฟอยู่ตรงกลางค่าสีจะอยู่ในระดับปานกลาง

ฮิสโตแกรมแสดงค่าสี

ประโยชน์ของการนำ ฮิสโตแกรมไปใช้งาน

1. ช่วยบอกรายละเอียดของภาพที่หลุดไปในส่วนมืดและส่วนสว่าง

ถ้ากราฟสัมผัสหรือเทไปส่วนไหนของภาพจะทำให้เรารู้ว่า รายละเอียดของภาพที่เราได้มาสูญเสียไป (Shadow Clipping, Highlight Clipping) และทำให้เรารู้สภาพแสงว่าเป็นอย่างไรด้วย

**ส่วนมากแล้วเราจะให้กราฟเป็นโทนกลางๆหรือไม่ให้หลุดรายละเอียดทั้งโทนมืดและโทนสว่าง แต่ทั้งนี่ทั้งนั้นก็ต้องดูภาพโดยรวมมาประกอบด้วย

2. ใช้ดูค่า Exposure ในตอนถ่ายภาพ

เราจะใช้ฮิสโตแกรมในการประเมินว่าข้อมูลหรือค่าแสง ดีหรือไม่ดี ซึ่งค่าที่ดีส่วนมากแล้วจะอยู่ตรงกลางๆนั้นเองซึ่งจะไม่สูญเสียส่วนมืดและส่วนสว่าง  แต่ก็ขึ้นอยู่กับภาพเช่นกันเช่นเราอาจจะนำเสนอภาพโทนมืดเป็นต้น

สรุป

ประโยชน์ฮิสโตแกรมไว้สำหรับดูสภาพแสง และดูว่าภาพสว่างหรือมืด หรือรายละเอียดขาดหาย เวลาเราถ่ายภาพเราจะได้ทราบและถ่ายให้ ฮิสโตแกรม ที่ดี และถ่ายมาไม่มืดและสว่างจนหลุดรายละเอียด

เรื่อง/บทความ : ช้างอิมเมท 2563