gml
ขอบเขตสี
ขอบเขตสีในการถ่ายภาพ

ขอบเขตสี ในการถ่ายภาพ ( Color Space)

เมื่อเราทำงานกับการถ่ายภาพ และเมื่อเรานำภาพที่ถ่ายได้ลงโพสในที่ต่างๆ เราจะได้ยินว่า บางครั้งสีอาจจะไม่สดเหมือนกับที่เราทำในโปรแกรมแต่งภาพต่างๆ ปัญหานี่อาจจะแก้ไขหรือทำความเข้าใจได้ ถ้าเรารู้จักขอบเขตสีในการแสดงผลของภาพ

Color space คือขอบเขตสีที่กล้องถ่ายภาพหรืออุปกรณ์ที่เราจะแสดงภาพ  แสดงผลขึ้นมาได้  ซึ่งกล้องสมัยนี้โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบนั้นก็คือ  sRGB, Adobe RGB ส่วน  ProPhoto จะอยู่ในโปรแกรมแต่งภาพ และกล้องรุ่นใหญ่ๆ

1.sRGB

เป็นขอบเขตสีมาตรฐานของการแสดงผลในจอคอมพิวเตอร์ทั่วไป ได้รับการใช้กันอย่างแพร่หลาย และยังเป็นสีมาตรฐานของกล้องถ่ายภาพดิจิตอล เครื่องพิมพ์ภาพถ่าย จึงใช้งานกับทั่วไป แต่จำนวนขอบเขตของสี จะมีน้อย ทำให้ได้สีสันของภาพไม่สดเท่ากับที่ตาเรามองเห็น

2.Adobe RGB

จะมีขอบเขตสีที่มาก sRGB นั้นหมายถึงกล้องจะเก็บสีสันได้มากกว่า มีรายละเอียดของสีมากกว่า จึงเหมาะสำหรับใช้ในไฟส์ในคุณภาพสูง ในการนำมาตกแต่งภาพสีสันเพิ่มเติม แต่มีข้อเสียนั้นก็คือในปัจจุบันในจอคอมอาจจะแสดงภาพได้อาจจะไม่ครบถ้วน
Adobe RGB มีขอบเขตสีได้มากถึง 50% ของสีทั้งหมดที่มนุษย์มองเห็น  โดยเฉพาะในส่วนของสีฟ้าและสีเขียว (การไล่โทนของน้ำหนักภาพทำได้ดีกว่า) และยังมีขอบเขตของสีส้มและแดงเพิ่มเติมเข้ามา

3.ProPhoto RGB

มีขอบเขตสีกว้างที่สุด กว้างกว่าขอบเขตสีที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยซ้ำไป  (ยังไม่น่าจะมีเครื่องพิมพ์ไหนพิมพ์ได้)จึงเป็นขอบเขตสีที่นำมาแต่งภาพและอาจจะนำไปใช้เมื่ออุปกรณ์พร้อมที่จะแสดงผลได้

สรุป
ในปัจจุบันเราอาจจะยังใช้ขอบเขตสี sRGB เป็นค่ามาตรฐานทั้งการนำไปพิมพ์และแสดงผลบนจอภาพ ตามร้านทั่วๆไป แต่ด้วยข้อจำกัดอย่างที่เราทราบมา โดยส่วนมากแล้วช่างภาพ ก็จะใช้ขอบเขตสี Adobe RGB ในการแต่งภาพ แล้วนำไปใช้งานโดยที่อาจจะไม่แปลงไฟส์เป็น sRGB ก็ได้
         และปัจจุบันร้านที่พิมพ์ภาพความละเอียดสูงๆเป็น Adobe RGB ก็มีแล้ว แต่เราต้องทราบก่อนที่จะนำภาพไปอัดด้วยน่ะครับ จึงแนะนำว่าเพื่อการได้สีสันที่ดี ให้เราเหลือขอบเขตสีที่สูงสุดที่กล้องเราจะบันทึกได้ ให้มากที่สุด ไว้ก่อนจะดีที่สุดครับ และเราควรถ่ายภาพด้วย raw ไฟส์ เพื่อให้กล้องเราได้เก็บสีได้มากที่สุดตามความสามารถของกล้องเรา

บทความ : ช้างอิมเมท พ.ย 63